ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้าง
คุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ
Development of management of innovative
research and vocational education inventions to enhance the quality of learners and to social
serviceThasae Industrial and Community Education College
ชื่อผู้วิจัย : ณรงค์ หวังอีน
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ตอน
ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคมวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร และจากแบบสอบถาม
ผู้วิจัยใช้ประชากรเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ
ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย
ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 26 คน รวมจำนวน 27 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8
คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ประกอบด้วย
การสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาในตอนที่ 1
ยกร่างรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างรูปแบบ
รวมจำนวน 14 คน และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ
โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน
รวมทั้งประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12
คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ โดยดำเนินการทดลองตามคู่มือการใช้รูปแบบ
และกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 4 โครงการ
กำหนดระยะเวลาทดลองใช้รูปแบบ 1 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2563)
ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
และแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ โดยสรุป ควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการบริหารจัดการ
ควรมีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการ ควรกำหนดกระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการ
และควรมีการรายงานผลการดำเนินงานและคุณภาพผู้เรียน
2. รูปแบบที่สร้างขึ้นมี
4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เป้าหมายการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา
2) คณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา
3) กระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา
และ 4) ผลการดำเนินงานและคุณภาพผู้เรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ พบว่า ผลการศึกษาความสำเร็จของโครงการทดลองใช้รูปแบบ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการทดลองใช้รูปแบบ
อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ พบว่า
4.1 ผลการศึกษาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 1) คุณภาพผู้เรียนด้านความรู้และทักษะ พบว่า หมวดวิชาชีพ
เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.31 และหมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ
7.19 2) คุณภาพผู้เรียนด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ
ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม
จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม
วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.4 จำนวนผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน
ที่มีประสิทธิภาพและได้รับรางวัล พบว่า ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน
เพิ่มขึ้นจำนวน 50 ผลงาน และได้รับรางวัลเพิ่มขึ้นจำนวน 42
รางวัล
4.5 จำนวนผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้รับการเผยแพร่/พัฒนาต่อยอดและนำไปใช้สู่การบริการชุมชน/สังคม
พบว่า มีจำนวน 144 รายการ
4.6 ความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้รับการบริการ/พัฒนาต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบ/
การพัฒนาการบริหารจัดการ/ วิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา/
การบริการสังคม